ทีมโปรดักชั่นควรประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
หน้าที่และความสำคัญของทีมงานโปรดักชั่นแต่ละฝ่าย เมื่อมีการออกกองถ่ายทำภาพยนต์ หนังโฆษณา หนังสั้น อื่นๆ แต่หากกลองถ่ายทำขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องใช้งานทั้งหมดก็ได้ มาดูกันว่าในกองถ่ายหนึ่งกองควรมีใครบ้าง หน้าที่อะไรบ้าง เพื่อให้ดำเนินงานโปรดักชั่น ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
Producer (โปรดิวเซอร์) : เป็นตัวกลางระหว่างผู้กำกับกับลูกค้า คอยดูแลควบคุมการถ่ายทำให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย คุยกับลูกค้าให้เข้าใจสิ่งที่ทางกองถ่ายจำเป็นต้องใช้ ต้องมี และก็ต้องคอยควบคุมดูแลไม่ให้ผู้กำกับออกนอกลู่นอกทาง นอกเนื้อเรื่อง (Storyboard )หรือว่าใช้งบประมาณมากจนเกินไป บางครั้งโปรดิวเซอร์ก็ต้องลงไปดูแลถึงในกองถ่ายด้วย เรียกได้ว่าอาจควบคุมทั้งกองถ่ายเพื่อให้ทีมโปรดักชั่นกับผู้กำกับให้ทำงานได้อย่างราบเลื่อน แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องให้อิสระผู้กำกับในแง่ของความคิดสร้างสรรค์ ไม่ไปจำกัดหรือทำให้ผู้กำกับทำงานลำบากมากขึ้น
Director (ผู้กำกับ) : คือ ผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้กำกับการถ่ายทำ ผู้กำกับหนังโฆษณา อื่นๆ เป็นผู้กำกับควบคุมทิศทางของกองถ่ายทั้งหมด ทั้งในแง่ของการแสดง และงานเบื้องหลังอื่นๆ หน้าที่หลักของผู้กำกับก็คือคิดเพื่อเล่าเรื่องหรือดำเนินเรื่องให้เป็นไปตามต้องการ และต้องรับรู้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกองถ่ายเพื่อคอยแก้ไขด้วย ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญที่ผู้ช่วยผู้กำกับ ตัดสินใจเองไม่ได้ ผู้กำกับจะเป็นคนที่ตัดสินใจ ชี้ขาดว่าจะต้องทำอย่างไร
Assistant Director (ผู้ช่วยผู้กำกับ) : ดูแลงานต่างๆ แทนผู้กำกับ และในอีกด้านอาจเป็นผู้ดูแลในภาคการกำกับย่อย หรือดูแลตามเรื่องที่ตนถนัดที่ต้องการรับผิดชอบ
Unit Production Manager (ผู้จัดการหน่วยการสร้าง) : ดูแลเรื่องงบประมาณ และระยะเวลาในการดำเนินงานต่างๆ (เปรียบเสมือนหน่วยบัญชีในกอง)
Production Manager (ผู้จัดการสร้าง) : ดูแลเรื่องเกี่ยวกับสถานที่ที่จะใช้ในการถ่ายทำ มักทำงานควบคู่กับผู้กำกับงานศิลป์ (Art Director)
Art Director (ผู้กำกับงานศิลป์) : หรืออาจเรียก ครีเอทีฟ(Creative) บ้างในบางโอกาศ ออกแบบ สร้างสรรค์งานสร้างทั้งหลายที่เราเห็นอยู่ในหนัง ไม่ว่าจะเป็นงานทางด้านการสร้างฉาก อุปกรณ์ประกอบฉาก เสื้อผ้า และอื่น ๆ มีผู้กำกับศิลป์คอยกำกับดูแลทั้งหมดนี้ให้ สวยงาม และตรงตามที่กำหนดดูแลเกี่ยวกับรายละเอียด หรือเนื้อหา ในสถานที่ที่ใช้ในการถ่ายทำ (อาจเรียกได้ว่าเป็น Visual Effects)
Costume Designer (ผู้ออกแบบชุด) : คือผู้ออกแบบและดูแลเรื่องการแต่งกายของนักแสดง และจัดหาเสื้อผ้า ชุดให้นักแสดง (Costumer) มักนิยมเรียกสั้นๆว่า "คอสตูม"
Make-up and Hair Designer (นักแต่งหน้าและทำผม) : หรือ "เมคอัพอาร์ติส"(Make-up Artist) คือช่างแต่งหน้า ทำผม ออกแบบทรงผม บ้าง ให้กับนักแสดง
Casting Director (ผู้กำกับนักแสดง) : คัดเลือกนักแสดง และดูแล ฝึกฝน แนะนำ ทดสอบนักแสดงเป็นหลัก
Choreographer (ผู้กำกับกิริยาท่าทางในการเต้น) : ดูแลเกี่ยวกับการใช้ท่าเต้นของนักแสดง ในการถ่ายทำ (ถ้ามี)
Director of Photography (DP : ผู้กำกับภาพ) : จะประสานงานกับผู้กำกับภาพยนตร์ในการวางแผนการจัดแสงการออกแบบแสงและการวางมุมกล้องเพื่อการสิ่อความหมายด้วยภาพต่างๆ ผู้กำกับภาพนั้นส่วนใหญ่มักจะเป็นช่างกล้องด้วย
Director of Audiography (DA : ผู้กำกับเสียง) : หรือจะเรียกได้ว่า Sound Director เป็นผู้ดูแลเรื่องเสียง ในระหว่างการถ่ายทำ และหลังถ่ายทำ ดูแลและตรวจสอบเรื่องเสียงที่ใช้ทั้งหมด
Sound Engineer/Production Sound Mixer (ผู้ออกแบบเสียง หรือสร้างเสียง) : เป็นผู้ที่สร้าง เสียงเอฟเฟค หรือเสียงประกอบของแต่ละฉากในการทำภาพยนตร์ หรือ Music Mixer ทำเสียงที่เป็นเสียงเพลง และดนตรีประกอบ Mix หรือผสมเสียงนั่น เสียงบรรยากาศ
Property Master : อุปกรณ์ประกอบฉากก็คือ ดูแลเรื่องการหาอุปกรณ์ประกอบฉาก
Boom Operator : Boom ในที่นี้ก็คือ ไมค์บูม เป็นไมค์ที่มีประสิทธิภาพในการเก็บเสียงมาก ตรงหัวไมค์มีขน ๆ ส่วนใหญ่จะสีเทา
Key Grip : อุปกรณ์ไฟ ถือไฟ
Dolly Grip : อุปกรณ์ที่ประกอบราง คือรางที่หน้าตาเหมือนรางรถไฟ เวลาถ่ายก็จะเลื่อนกล้องไปตามราง โดยมีกล้องอยู่ด้านบน หรือมีตากล้องด้วย
Location Manager : เป็นคนที่จัดการเกี่ยวกับสถานที่ถ่ายทำทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการหาสถานที่ถ่ายทำ การวางแผนเกี่ยวกับสถานที่ถ่ายทำ ประสานงานกับฝ่ายฉากในตอนเซ็ตฉากด้วย
Computer Graphics Designer (ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก) :
ดูแลเรื่องการสร้างกราฟิกเพื่อใช้ประกอบการสร้างภาพยนตร์ ซีจี ทรีดี โมชั่น อื่นๆ
Editor (ผู้แก้ไข/ตัดต่อ) : เป็นผู้ที่ดูแลเรื่องการจัดเฟรม (Frames) ในเนื้อภาพยนตร์นั้นๆ การลำดับภาพการลำดับการนำเสนอให้ตรงตามเนื้อเรื่องหรือStory Board ให้มากที่สุด
Supervisor (ผู้ดำเนินงาน) : มักจะเป็นผู้ที่คอยตรวจสอบการทำงาน หรือประเมินการทำงาน โดยมักจะเป็นผู้ที่ไม่ได้ทำงานในกองถ่าย และเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาแล้ว
Executive Producer (ผู้อำนวยการผลิต) : ผู้ว่าจ้าง ในการถ่ายทำภาพยนตร์ หรือ ผู้ที่มอบหมายผู้กำกับในการดูแลงานในกองถ่าย
Sponsor (ผู้สนับสนุน) : สนับสนุนด้านในด้านหนึ่งในการดำเนินงานในกองถ่าย ไม่ว่าจะเปนด้านคำปรึกษา คำแนะนำ วัตถุสิ่งของ หรือ แนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ
Actor/Actress (นักแสดงชาย หญิง) : ผู้เล่นในภาพยนตร์นั้นๆ
Characters (ตัวละคร) : อาจเป็นนักแสดงก็ได้ แต่ถ้าไม่มีก็อาจเป็นตัวละครสมมุติ ก็ได้
ที่เหลือก็คือการวางแผนงานว่าในหนึ่งกองถ่าย ควรมีโปรดักชั่นตำแหน่งในบ้าง เพื่อถ่ายทำให้หนังโฆษณา หนังสั้นภาพยนต์โฆษณา รายการ สารคดี อืน
สนใจการผลิตวีดีโอทุกประเภท โทร.096-997-3670
ตัวอย่างงานออกกองถ่ายทำ
Showreel
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น